พระสมเด็จปิลันทน์ พิมพ์ซุ้มประตู
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
ใบเงินพระเครื่อง | |||||||||||||||
โดย
|
BAINGERN | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระกรุ | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
พระสมเด็จปิลันทน์ พิมพ์ซุ้มประตู |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
พระพุทธบาทปิลันทน์” หรือ “พระสมเด็จปิลันทน์” ขนานนามตามชื่อผู้สร้างคือ หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ (ทัด) ลูกศิษย์ใกล้ชิดในท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และเป็นรูปเดียวที่ได้รับความไว้วางใจให้ปกครองดูแลวัดแทน สืบต่อมาท่านได้จำเริญในสมณศักดิ์ จนครั้งสุดท้ายดำรงสมณศักดิ์เป็นที่ "หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด)" เทียบเท่ากับพระอาจารย์ เมื่อครั้งหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ (ทัด) ได้ครองวัดระฆังฯ ในราวปี พ.ศ.2407 ท่านดำริสร้างพระพิมพ์ให้ครบ 84,000 องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ตามคติโบราณนิยม ส่วนหนึ่งเพื่อแจกผู้มีจิตศรัทธาไว้เป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันภยันตราย อีกส่วนหนึ่งเพื่อบรรจุไว้ในพระสถูปเจดีย์เพื่อเป็นพุทธบูชาและสืบสานพระบวรพุทธศาสนา โดยสร้างเป็น ‘พระพิมพ์เนื้อผงใบลานเผา’ รูปแบบและพิมพ์มีความประณีตงดงามด้วยฝีมือช่างหลวงหรือช่างสิบหมู่ ทั้งยังได้รับความอนุเคราะห์จากพระอาจารย์ คือ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มอบมวลสารพระสมเด็จวัดระฆังฯ รวมทั้ง "ผงปถมัง" ให้เป็นส่วนผสม นอกจากนี้ยังเมตตาร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสกด้วยพระคาถาชินบัญชรอันทรงคุณวิเศษ จึงได้เรียกขานกันในอีกนามหนึ่งว่า “พระเครื่องสองสมเด็จ” ดังนั้น ด้านพุทธคุณล้วนปรากฏเป็นที่ประจักษ์ว่า สูงส่งเทียบเท่าพระสมเด็จฯ ของพระอาจารย์ทีเดียว จากมีผู้เข้าไปเจาะกรุพระเจดีย์ เพื่อหวังทรัพย์สินของมีค่าเท่านั้น ไม่ประสงค์ในพระเครื่อง ท่านเจ้าคุณพระธรรมทานาจารย์ (แนบ สิงหเสนี) ซึ่งอยู่ที่หอไตรฯ ในสระ ซึ่งเป็นเจ้าคณะและควบคุมดูแลในพระอุโบสถในขณะนั้น จึงให้นำพระเครื่องทั้งหมดมาเก็บไว้ในหอไตรฯ จนเมื่อเกิดสงครามอินโดจีน ท่านจึงนำพระเครื่องส่วนหนึ่งมอบให้แก่กระทรวงกลาโหม เพื่อแจกจ่ายแก่ทหารที่จะออกไปปฏิบัติราชการในสนามรบ จนปรากฏพุทธคุณเป็นที่เลื่องลือ พระพุทธบาทปิลันทน์ สามารถแบ่งพิมพ์ทรงออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ โค้งมนแบบเล็บมือ และ รูปทรงสี่เหลี่ยมแบบพระสมเด็จ ขอบพิมพ์และการตัดขอบข้างประณีตได้มาตรฐาน ด้านหลังมีทั้งแบบหลังเรียบและหลังนูน แบบหลังเรียบจะพบกับพิมพ์รูปทรงสี่เหลี่ยม ส่วนแบบหลังนูนจะเป็นทรงโค้งมนแบบเล็บมือ บางองค์ก็มีรอยนิ้วมือปรากฏลางๆ และบางองค์ก็มีการจารหรือลงอักขระ โดยที่พบเห็นจะจารยันต์ตัวเดียว พิมพ์ต่างๆ ของ ‘พระพุทธบาทปิลันทน์’ มีอาทิ พิมพ์ซุ้มประตู, พิมพ์ครอบแก้วใหญ่, พิมพ์เปลวเพลิง, พิมพ์โมคัลลาน์-สารีบุตร, พิมพ์หยดแป้ง และพิมพ์ปิดตา ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมสะสมในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่อง โดยเฉพาะ “พระพุทธบาทปิลันทน์ พิมพ์ซุ้มประตู” ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ในชุดเบญจภาคีพระเนื้อผง ด้วยความงดงามสง่าของพุทธลักษณะพิมพ์ทรง (ที่มา: สยามรัฐ, พระพุทธบาทปิลันทน์ “พระเครื่องสองสมเด็จ”, 19 มกราคม พ.ศ. 2559) |
|||||||||||||||
ราคา
|
15,000 | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
088-6194471 | |||||||||||||||
ID LINE
|
0886194471 | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
6,290 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารกรุงเทพ / 340-4-154xx-x
|
|||||||||||||||
|